ความหมายข้อมูลเครือข่ายเรดาร์บนสารสนเทศภูมิศาสตร์สำหรับประชาชน
  1. ข้อมูลค่าสะท้อนอนุภาคที่ทำการคัดกรองเป้าฝนแล้วมุมยกแรกใต้ฐานเมฆ (Base Reflectivity) เป็นสารประกอบที่แสดงค่าการสะท้อนของอนุภาคที่กลับมาและโปรแกรมได้คัดกรองว่าเป็นเป้าฝนแล้ว เป็นการตรวจอากาศในสภาวะอากาศที่มีหยาดน้ำฟ้า (Precipitation Mode) ที่แสดงค่าอนุภาคฝนใต้ฐานเมฆ ตั้งแต่ฝนนับจำนวนไม่ได้ (Trace) ขึ้นไป ในบางครั้งอาจมีอนุภาคที่สะท้อนกลับจากการเกิดปรากฎการณ์การเปลี่ยนอุณหภูมิโดยฉับพลัน (Ground Clutter) ร่วมด้วย Base Reflectivity มีหน่วยเป็น DBZ และช่วงในการแสดงผล (Legend) จะแสดงตั้งแต่ค่า 5 DBZ ขึ้นไป
  2. ข้อมูลค่ารวมการสะท้อนอนุภาคสูงสุดที่ทำการคัดกรองเป้าฝนแล้วทุกมุมยก (Composite Reflectivity) เป็นข้อมูลที่แสดงค่าสะท้อนสูงสุด (Greatest Reflectivity) ของทุกมุมยกเปรียบเทียบกับข้อมูล ค่าสะท้อนอนุภาคที่ทำการคัดกรองเป้าฝนแล้วมุมยกแรกใต้ฐานเมฆ (Base Reflectivity) เป็นเป้าฝนเป็นการตรวจอากาศในสภาวะอากาศที่มีหยาดน้ำฟ้า (Precipitation Mode) ที่แสดงค่าอนุภาคฝนในเนื้อเมฆ ตั้งแต่ฝนนับจำนวนไม่ได้ (Trace) ขึ้นไป ในบางครั้งอาจมีอนุภาคที่สะท้อนกลับจากการเกิดปรากฎการณ์การเปลี่ยนอุณหภูมิโดยฉับพลัน (Ground Clutter) ร่วมด้วย Composite Reflectivity มีหน่วยเป็น DBZ และช่วงในการแสดงผล (Legend) จะแสดงตั้งแต่ค่า 5 DBZ ขึ้นไป

ส่วนที่เห็นข้อมูลตามเว็บไซต์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเวบของกรมฯ (เดิม) หรือเวบฝนหลวง ที่มักจะเห็น Legend เป็น Corrected Intensity ค่าความเข้มของฝน (DBZ) เพราะเป็น Product ชนิดหนึ่งที่ผลิตจาก CZ component เรียกว่า Plan Position Indicator (PPI) สำหรับฝนหลวงแสดง Product ชนิด Constant Altitude Plan Position Indicator (CAPPI) ซึ่งมีหน่วยเป็น DBZ เพราะใช้ Corrected Reflectivity (CZ) มาทำการผลิตข้อมูลเช่นเดียวกัน ต่างกันที่ระดับความสูงในการคำนวณที่ CAPPI มักใช้ที่ระดับ 2.5 km หรือ 2500 ft ที่บริเวณเนื้อเมฆ

เพราะฉะนั้น อย่าไปเปรียบเทียบข้อมูลกับเวบไซด์อื่นจะสับสน เพราะเวบไซด์นี้มุ่งเฉพาะการผลิตสารประกอบตั้งต้น ชนิด Base Reflectivity และ Composite Reflectivity เพื่อนำเสนอในรูปแบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) เท่านั้น ไม่ได้แสดง product อื่นๆ อีก

 

ข้อมูลอื่นๆ ที่ใช้แสดงผลในเวบนี้
  1. ข้อมูลเครือข่ายเรดาร์เปรียบเทียบกับข้อมูลดาวเทียมอุตุนิยมวิทยา (RADROP) เป็นข้อมูลที่ใช้เปรียบเทียบเป้าฝนจาก CZ component ซึ่งเป็นการดูจำนวนฝน (Rain Amount) มีหน่วยเป็น DBZ เปรียบเทียบกับข้อมูล ดาวเทียมอุตุนิยมวิทยาชนิด Geostationary Satellite ชื่อ MTSAT ของประเทศญี่ปุ่น ซึ่งใช้ช่วงคลื่น Infrared (IR) ที่แสดงอุณหภูมิ ของเมฆ รูปแบบของเมฆ (Cloud Pattern) เพื่อใช้ในการประมาณค่าฝน (Estimate Rainfall)
  2. ข้อมูลภาพรวมข่ายเครือข่ายเรดาร์ (RADAR NETWORK Plotting Map) เป็นการแปลข้อมูล (Decode) จากรหัสเรดาร์ตรวจอากาศ (RADAR Code) ที่ใช้แสดงชนิดฝน ความแรงของฝน แนวโน้มและทิศทางของฝน รวมทั้งความสูงของยอดเมฆ ออกมาเป็นภาพกราฟฟิก

 

  ส่วนติดตามสภาวะอากาศ (เครือข่ายเรดาร์) ผู้รวบรวม